วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

โครงการยกระดับ”นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบวิถีอีสานไทย”

เมื่อวันที่ 30 พย.2563 เวลา11.00 น ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น ได้มีพิธีเปิดโครงการ”นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบวิถีอีสานไทย” โดยมี ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการฯ มีรศ.จินตนาภรณ์ วัฒนธร ผอ.สถาบันHHPHP KKีU กล่าวรายงานฯ,มีดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)มาร่วมเป็นเกียรติในงานกิจกรรมนี้เน้นการดำเนินงานแบบประชารัฐ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน สร้างรายได้ในชุมชนสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่นควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตรเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางด้านภาคการผลิตและบริการให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

       วัตถุประสงค์หลักโดยปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีความใส่ใจกับการเพิ่มคุณภาพและกระแสรักษ์สุขภาพทำให้กลุ่มลูกค้าวัยทำงานให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพชีวิตอย่างมาก มูลค่าของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ท่องเที่ยวในไทยคาดหวังเกี่ยวกับการผ่อนคลายร่างกาย จิตใจ เป็นอันดับแรก รองลงมาจะเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมและการใกล้ชิดกับธรรมชาติ ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบใหม่เป็นการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ เป็นการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงถวิลหา สอดแทรกกับการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการบริโภคนวัตกรรมอาหารสุขภาพที่นำมาพัฒนาร่วมกับอาหารถิ่น ทั้งในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ทั้งระดับชุมชนสามารถทำได้ ระดับที่ใช้เทคโนโลยี โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมอาหารสุขภาพมาประยุกต์กับอาหารท้องถิ่น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่พยายามนำอัตลักษณ์อีสาน ทั้งด้านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส มาใช้ในการให้บริการสปา เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาคอีสาน เนื่องจากอีสานอุดมไปด้วยสมุนไพรท้องถิ่นที่หลากหลาย และมีจุดแข็งหลายด้านที่สามารถนำมาเสริมสร้างประสบการณ์และสร้างเอกลักษณ์ให้กับธุรกิจสปาได้ เช่น เกลือสินเธาว์ ที่พบว่าภาคอีสานมีแหล่งเกลือสินเธาว์ที่มีคุณภาพดีและมีสมุนไพรที่หลากหลาย มีจำนวนมาก สามารถนำมาพัฒนาเป็นสครับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

        ผลของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในรูปแบบสปา อีสานมีจุดเด่นในเรื่องอาหารเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งเรื่องรสชาติและวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สามารถช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพได้ โดยจุดเด่นดังกล่าวนำมาดัดแปลงบนพื้นวัฒนธรรม ประเพณี และองค์ความรู้ด้านอาหารสุขภาพ น่าจะเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าได้ ทั้งการร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แบบบูรณาการในการเชื่อมโยงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สปากับการดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยว ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนในแต่ละถิ่น สามารถช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐบาลแบบบูรณาการและขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้ในอนาคต