เมื่อเวลา 13.30 น.ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัวผลงานวิจัยชุด “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” ซึ่งเป็นงานวิจัยของ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยชุดทดสอบฯ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เครือข่ายบูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานและประยุกต์ใช้ของปรสิตและเวกเตอร์สำหรับผลิต นวัตกรรมต้นแบบที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการใช้ประโยชน์ทางสังคม จากปกติต้องใช้ตรวจเป็นเวลานาน และทำได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ของใหม่ใช้เวลาน้อยและสามารถนำมาใช้ตรวจสอบเอง โดยภายในงานแถลงข่าวมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น,ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม,ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,โดยมีศาสตราจารย์วันชัย มาลีวงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยผู้รับทุน กล่าวรายงานที่มาของโครงการฯ
Strongyloidiasis ICT Kit เป็นนวตักรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วชุดแรกของโลก ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย หรือโรค พยาธิสตรองจิลอยด์ในคน ชื่อว่าพยาธิสตรองจิลอยดิส สเตอร์โครอลลิส (Strongyloides stercoralis; Ss) ด้วยเทคนิค Lateral flow คล้ายตรวจการต้ังครรภ์ ใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือด (ซีรั่ม) ผู้ป่วย ใช้ง่าย สะดวก อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุด ทดสอบ ภายใน 15 นาที ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง บุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปใช้ชุดทดทดสอบได้มีค่าความไว 93.3% และค่าความจำเพาะ 83.7%
โรคพยาธิสตรองจิลอยด์ หรือ พยาธิเส้นด้าย เกิดจากพยาธิสตรองจิลอยด์ หรือ พยาธิเส้นด้าย ซึ่งเป็นพยาธิตัวกลม ขนาดเล็ก พบที่เยื่อบุลำไส้เล็กของคน ทั่วโลกพบการติดเชื้อประมาณ 30-100 ล้านคน ประเทศไทยพบอัตราการติดเชื้อสูง ทุกภูมิภาค ในภาคอีสานบางพื้นที่พบสูงถึง 60% คนติดโรคจากตัวอ่อนพยาธิระยะที่ 3 ในดินไชเข้าผิวหนังเมื่อสัมผัสดิน ไชไปตามกระแสเลือด สู่หัวใจ ปอด และกลืนลงสู่ลำไส้เป็นตัวเต็มวัยในลำไส้เล็ก ออกไข่เพิ่มจำนวนตัวอ่อนและเป็นตัวเต็มวัย อาการที่พบบ่อยของผู้ติดเชื้อ เกิดจากระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของพยาธิ เช่น เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง พบปอดอักเสบ ปอด บวม มีไข้ไอ หากติดเชื้อรุนแรง/เรื้อรัง เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเหลว/เป็นน้ำ ลำไส้มีการดูดซึมอาหารผิดปกติ น้ำหนักตัวลด ซีด ผู้ที่ได้รับสารสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นเวลานาน เมื่อติดเชื้อพยาธิจะทำให้มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การวินิจฉัยโรคที่แน่ชัดจึงมีความสำคัญ ในผู้ป่วยที่จะเปลี่ยนถ่าย อวัยวะ หรือรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ วิธีการตรวจหาพยาธิเส้นด้ายที่ดีที่สุด โดยนำอุจจาระมาตรวจใต้กลอ้งจุลทรรศน์ หรือเพาะเลี้ยงในจานวุ้นอาหารนาน 2-3 วัน แต่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ต้องอาศัยนักปรสิตวิทยาที่เชี่ยวชาญบางครั้งพยาธิไม่ ออกมาในอุจจาระ การตรวจหาแอนติบอดีในซีรั่มด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ผลิตขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยชีวิตผู้ป่วย
สำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับในคนไทย เกิดจากตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้ตับชนิด Ov ที่อยู่ในท่อน้ำดี คนติดพยาธิจากการบริโภคปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด เช่น ปลาขาว ปลากระสูด ปลาตะเพียน ฯลฯ ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อแบบดิบๆ ในอาหารจานโปรดเช่น ก้อยปลา ลาบปลา ตัวเต็มวัยพยาธิก่อให้เกิดท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง บางรายกินยาฆ่าพยาธิทุกปี และยังบริโภคปลาดิบ ทำให้มีการติดพยาธิซ้ำๆ ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบเรื้อรังและรุนแรงเร็วขึ้น อาจพบภาวะตับแข็ง ท่อน้ำดีหนาตัวขึ้นเกิดการอุดตัน ตาเหลือง-ตัวเหลือง ตับอ่อนอักเสบ เซลล์ท่อน้ำดีเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเป็นมะเร็งท่อน้ำดี อาการที่พบบ่อยเมื่อเริ่มแสดงอาการ เช่น แน่นท้อง จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงซ้าย อาการ “ออกร้อน” ที่ท้องหรือหลัง เป็นลักษณะพิเศษที่พบในโรคพยาธิใบไม้ตับ การวินิจฉัยโรคที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับใต้กล้องจุลทรรศน์ แต่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ต้องอาศัยนักปรสิตวิทยาที่เชี่ยวชาญ และบางครั้งไข่พยาธิไม่ปนออกมาในอุจจาระ ทำให้วินิจฉัยโรคไม่ได้ การตรวจหาแอนติบอดีในซีรั่มด้วยชุดทดสอบนี้จึงเป็นแนวทางใหม่ในการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี
Strongyloidiasis ICT Kit ไดรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีศาสตราจารย์วันชัย มาลีวงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยผู้รับทุน Strongyloidiasis ICT Kit ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 9001 (2015) และ ISO 13485 ในประเทศไทย โดยฝีมือทีมนักวิจัยจาก ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีบริษัทเคสเทรล ไบโอไซเอ๊นซ์(ประเทศไทย) ไดรับสิทธิ์จาก สกสว. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ