วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

บพข. เปิดเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ “ปรับกาย เสริมจิต ชีวิตสมดุล”อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม (2 วัน 1 คืน เดินทางโดยรถรางนำเที่ยว)ต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

17 ก.พ. 2022
1093

**HELLO นาดูน*** เส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ “ปรับกาย เสริมจิต ชีวิตสมดุล” อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามเป็นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการท่องเที่ยว ให้เป็นพื้นที่และเส้นทางท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนและต่อยอดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดในอนาคต ซึ่งได้มีการทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวโดย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข.ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายอำเภอนาดูน ผู้กำกับ สภ.นาดูน นายก อบต.นาดูน สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม และคณะผู้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการการวิจัยไปเมื่อวันที่ 15 และ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

เส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้การจัดสรรทุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในการทำการวิจัยภายใต้แผนงานโครงการ“การบริหารการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ” โดยมีนักวิจัยจำนวน 35 คนจำก 10 หน่วยงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ คณะท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตรศิลป์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ควบคู่กับการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านโกทา บ้านดงน้อย ตำบลพระธาตุ และตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นการนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยมาพัฒนาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและทุนชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการท่องเที่ยว

        ซึ่งโครงการภายในแผนงานประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือ โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงสุขภาพจากฐานภูมิปัญญาสมุนไพรและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีเป้าหมายหลักสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม 4 มิติ ทั้งด้าน ได้แก่ กาย ใจ สังคม ปัญญา ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดขึ้นจากฐนภูมิปัญญา 3 ฤดูกาล ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทเครื่องดื่ม ได้แก่ ตำรับเครื่องดื่มสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน 3 ฤดู ได้แก่ ตรีผลา เครื่องดื่มสำหรับฤดูร้อน ตรีกฎกสำหรับฤดูฝน ตรีสารสำหรับฤดูหนาว ประเภทน้ำมันหอมระเหยได้ตำรับน้ำมันหอม อโรมาเพื่อผ่อนคลายสำหรับ 3 ฤดูจากสมุนไพรในชุมชน คือเปราะหอม มหาหงส์ ข่า มะกรูด ตะไคร้บ้านและตะไคร้หอม และตำรับน้ำมันหอมระเหยที่ผ่อนคลายจากดอกลีลาวดี มะลิ และกุหลาบ ประเภทเครื่องสำอาง ได้แก่ ตำรับมาร์คหน้าจากการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นได้แก่ รางจืด รากสามสิบ ตุมตัง เพื่อการขจัดสารพิษ เพิ่มความชุ่มชื่น และเรื่องสิวฝ้า ด้านการสร้างมาตรฐานรองรับนักท่องเที่ยวได้มีการสร้างมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการผู้สูงอายุและสำหรับทุกคน (Tourism For All) มีการออกแบบเทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ หมออีสาน สำหรับด้านบริการสุขภาพมีการออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพสามฤดู (Wellness Program) ตามศาสตร์การแพทย์แผนในการให้บริการบำบัดรักษาสุขภาพด้วยวิธีการดั้งเดิม ผสมผสานกับแนวคิดเรื่องความสมดุลของคนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) Check-in& check up 2) Mind- body wellness and purifying retreat program 3) การบริหารกายและจิตยามรุ่งอรุณ 4)อาหารสุขภาพจากฐานภูมิปัญญา 3 ฤดู 5) กิจกรรมตระหนักรู้ด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

        โครงการย่อยที่ 2 เป็นการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากฐานภูมิปัญญาสมุนไพรและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีการวางแนวทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบบูรณาการเพื่อเข้าถึงกลุ่มตลาดเป้าหมาย การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนในการสร้างเนื้อหาเรื่องราวโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาด โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Local & Regional Seekers ที่ให้ความสนใจกับการเติมพลังให้กับตนเองเพื่อเยียวยาจิตใจและฟื้นฟูพลังสร้างสมดุลให้ชีวิต การได้ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปัจจัยดึงดูดที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คือ อาหารและกิจกรรมท้องถิ่นมีวัตถุดิบที่หลากหลาย กิจกรรมท่องเที่ยวเทศกาลและกิจกรรมสันทนาการ และกลุ่ม Relationship Enhances ที่สนใจปัจจัยดึงดูดสำคัญคือ ความสวยงามของภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว มีสถานที่ช่วยผ่อนคลายทางธรรมชาติ และมีความปลอดภัย สะอาดและสุขอนามัยที่ดี มีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการสร้างช่องทางในการสร้างเนื้อหาเรื่องราวโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาด นำเสนอสินค้าและบริการให้น่าสนใจ บน Social media เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 พื้นที่

        พื้นที่ปฏิบัติการ ได้แก่ บ้านโกทา บ้านดงน้อย ตำบลพระธาตุ และตำบลหนองคู อำเภอนาดูน ได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว มีการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ระบบตลาดและต้นทุน การพัฒนากลไกและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล และภาคีในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว การบูรณาการการท่องเที่ยวและการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนครจำปาศรี มีการจัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สอดรับกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัด

        การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการท่องเที่ยว ให้เป็นพื้นที่และเส้นทางท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัด นำไปสู่การใช้ประโยชน์และการขยายผลด้วยความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวกับพันธมิตรการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตจากการลงพื้นที่ทดสอบเส้นทางครั้งนี้พบว่าชุมชนพื้นที่นาดูนมีความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยวได้แล้ว

___________________________________________________________________________________________

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

โทรศัพท์ 02-109-5432 ต่อ 883-884มือถือ 08-1922-5149 (มนต์ศิริ) 09-2336-4482 (ณิศชเนตร์)

Email: pmuc@nxpo.or.th / Website: https://pmuc.or.th

Facebook: https://www.facebook.com/ProgramManagementUnitforCompetitiveness

หรือติดต่อ :

นายทม เกตุวงศา สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มือถือ 0862415131 e-mail: thommsu@gmail.com

Facebook: https://www.facebook.com/Maha-Sarakham-Wellness-Tourism-101971062097700

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. เตรียมจัดงานเฟสติวัลครั้งยิ่งใหญ่ “ใส่ไทย เฟสติวัล” ร่วมผลักดันให้เป็น SOFT POWER ด้านแฟชั่นให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีอีกครั้ง
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
“ใส่ไทย เฟสติวัล” SOFT POWER ด้านแฟชั่นยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี เริ่มขึ้นแล้ว
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม : “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 – 17 พ.ย. 2567
รีบๆเลยก่อนสิทธิ์หมด! ททท. จัดแคมเปญ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง”