วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

ททท. เปิดแผนตลาดฯ ปี 66 ตั้งเป้า “พลิกฟื้น” อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสมดุลทุกมิติ เน้นสร้างคุณค่า การเดินทาง สู่ High Value & Sustainable Tourism ดันรายได้รวม 2.38 ล้านล้านบาท

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงแผนเพื่อสื่อสารทิศทางและแนวทางการส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวของ ททท. ประจำปี 2566 ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Meeting) โดยมี นายพิพัฒน์  รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงานฯ พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ททท. คณะกรรมการ ททท. ผู้บริหาร ททท. และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด  ททท. ย้ำเดินหน้า “พลิกฟื้น” ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทั้งระบบ วางกลยุทธ์กระตุ้นความต้องการเดินทาง (Drive demand) สร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel) ควบคู่ไปกับการต่อยอดพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Shape supply) มุ่งสู่ความสมดุลทุกมิติ พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High value and sustainability) ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 รวม 2.38 ล้านล้านบาท (Best Case Scenario) 

นายยุทธศักดิ์  สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี 2566 ที่กำลังจะมาถึง จะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นและพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดย ททท. กำหนดทิศทางการตลาดให้สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจองค์กร ททท. พ.ศ.2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ททท. เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่ามุ่งสู่ความยั่งยืน” เตรียมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูในทุกมิติ ตาม 3 วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลัก (Strategic Objective) ได้แก่ Drive Demand : มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน  Shape Supply : สร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านการสร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem) และ Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง มุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด สู่หมุดหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยเปลี่ยนผ่านสู่ High Value & Sustainable Tourism อย่างแท้จริง โดย ททท. จะกระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ (Drive demand) สร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel) ตามแคมเปญการสื่อสารต่างประเทศ Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters ด้วยเมนูประสบการณ์ A-Z และผสมผสาน Soft Power of Thailand (5F : 4M คือ Food Film Fashion Festival Fight Music Museum Master Meta ) และ “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” สำหรับแคมเปญการสื่อสารในประเทศ ควบคู่ไปกับการปรับ ต่อยอด และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Shape supply) สร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosytem) ที่สมดุลใน 4 มิติ (4Ws) ทั้งด้านเศรษฐกิจ (Economic Wealth) สังคม (Social Wellbeing) สิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) และเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ (Human Wisdom)  รวมทั้ง บูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน (Collaborative partnership) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เพื่อให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันและความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เพื่อปักหมุดหมายการท่องเที่ยวของไทย ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High value and sustainability) 

ทั้งนี้ ปี 2566 นับเป็นปีแห่งความท้าทายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่บทต่อไปอย่างแข็งแรงอีกครั้ง ในตลาดต่างประเทศ ททท. ยังให้ความสำคัญกับการ Save Partner โดยเฉพาะธุรกิจสายการบิน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากการเพิ่มความจุที่นั่ง (Seat Capacity) โดยดึงฐานลูกค้าเดิมในพื้นที่ตลาดหลักที่นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถออกเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างอิสระตามปกติและสามารถออกเดินทางได้ทันที โดยมุ่งกระตุ้นความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มคุณภาพกระแสหลัก อาทิ กลุ่ม Millennials กลุ่ม Gen X และ กลุ่ม Silver-Age-People (SAP) และเจาะขยายฐานตลาดกลุ่มความสนใจพิเศษโดยเฉพาะ กลุ่ม Health & Wellness กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เที่ยวอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกลุ่มตลาดเฉพาะใหม่ๆ อาทิ กลุ่ม Digital nomad และ กลุ่ม Telework ซึ่ง ททท. จะปรับสมดุลโครงสร้างตลาด ผ่านการส่งเสริมตลาดแบบ Less for more เพื่อมุ่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ 

สำหรับตลาดระยะไกล (Long-Haul Markets) ซึ่งถือเป็นตลาดความหวังของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยโดย ททท. มองว่า ปี 66 จะเป็น Time is the New Currency ที่จะแสวงหากลุ่มตลาด (Segment) ที่มีเวลาพักผ่อนและซึบซับประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศไทย อาทิ กลุ่ม Health & Wellness, Family with Kids, Active Senior และ Telework ซึ่ง ททท. จะส่งเสริมการตลาดใน 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ผสมผสานกลยุทธ์ City Marketing โดยแสวงหาความร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำในกลุ่มสินค้า Lifestyle สินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อพร้อมจ่าย รวมทั้งมอบสิทธิพิเศษแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และ 2) การเปิดตลาดเชิงพื้นที่ใหม่ ๆ สร้างการรับรู้และส่งเสริมตลาดในประเทศใหม่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ซึ่ง ททท. เล็งเห็นโอกาสในการผลักดันให้เกิดการขยายตัวทั้งในด้านจำนวนและรายได้ และขยายพื้นที่ไปเมืองรองในตลาดเดิม เน้นไปที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นฐานตลาดเดิมของประเทศไทย และจะขยายพื้นที่ส่งเสริมตลาดให้ครอบคลุมเมืองรองขนาดใหญ่ อาทิ Portland (Oregon)/ Salt Lake City (Utah) โดยร่วมกับพันธมิตรสายการบิน Delta เปิดบริการบินในพื้นที่ตอนกลางของตลาดสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมการขายแพ็กเกจท่องเที่ยวไทย  

ขณะที่ ตลาดระยะใกล้ (Short-Haul Market) ททท. จะมุ่งสร้าง The Great Resumption ผ่าน   กลยุทธ์ 2Q และ 5 News กล่าวคือ Quick Win ด้วยการฟื้นคืนฐานตลาดกลุ่มกระแสหลัก เจาะกลุ่มคุณภาพ กระตุ้นกลุ่ม Revisit และ Quality มุ่งเพิ่มจำนวน ความถี่และกระตุ้นการใช้จ่ายของกลุ่มความสนใจพิเศษ อาทิ กลุ่ม Health & Wellness, Wedding and Honeymoon Sport Tourism และ Luxury และ 5 News ประกอบด้วย New segment เจาะกลุ่มตลาดศักยภาพกลุ่มใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโต New area เจาะพื้นที่ตลาดใหม่ New partner ร่วมมือกับคู่ค้าพันธมิตรรายใหม่ New infrastructure ใช้ประโยชน์จากการคมนาคมรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ New way เสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ชูเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการส่งเสริมการตลาดตอกย้ำความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี และผลักดันการเพิ่มโอกาสในการเดินทางเข้าถึงประเทศไทยทั้งการเดินทางทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทางบกจะดึงนักท่องเที่ยวเดินทางเชื่อมโยงข้ามแผ่นดินจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียและจีน ส่วนทางอากาศ จะผลักดันการเพิ่มจำนวนที่นั่งบนเครื่องบินจากตลาดระยะใกล้ให้กลับมามากกว่าร้อยละ 80 ของปี 2562 และจะมุ่งพลิกโฉม เปลี่ยนมุมมอง สร้างภาพจำใหม่ให้ประเทศไทย เพื่อให้เป็น The Great Resumption ของตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง

สำหรับตลาดในประเทศ ททท. จะกระตุ้นความต้องการเดินทางของคนไทย สอดรับกับแคมเปญสื่อสาร “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” กำหนดกลยุทธ์ REAL ประกอบด้วย Responsible Tourism, Extra-ordinary Experience, Avantgarde Marketing และ Less for more Economy ต่อยอดทิศทางส่งเสริมตลาด 5 ภาค เน้นพาเที่ยวเมืองไทยอย่างอบอุ่น เสนอแคมเปญ “365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย…เที่ยวได้ทุกวัน” ชูความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ของแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือ เสิร์ฟประสบการณ์ท่องเที่ยวสัมผัส “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในภูมิภาค เจาะกลุ่มครอบครัวที่มีหลายช่วงวัย (Multi-Gen Family) ภาคกลาง พาอินเทรนด์กระแสท่องเที่ยวภาคกลางด้วยเมนูประสบการณ์ใหม่ “Trendy C2” เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen-Y และ Gen-Z  ภาคตะวันออก พาชิลล์ๆ ซึมซับประสบการณ์ “Story สาย สบาย” ด้วยสินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารควบคู่สินค้า Luxury ดึงนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen-Y กลุ่มผู้มีรายได้สูง และ กลุ่มครอบครัวคนรุ่นใหม่ (Millennials family  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พาตะลอนเที่ยวสุด COOL หลงรักอีสานได้ทุกวัน กระตุ้นท่องเที่ยว 20 จังหวัดภาคอีสาน พร้อมนำเสนอสินค้าท่องเที่ยวภายใต้ธีม 3 ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม เจาะกลุ่ม Gen-Y และวัยทำงาน และ ภาคใต้ พาสัมผัสการท่องเที่ยวรสจัดจ้าน “หรอยแรง แหล่งใต้” ดึงคนไทยเที่ยวภาคใต้ตลอดทั้งปีควบคู่กับการสร้างกระแสการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อสร้างสมดุลทางการท่องเที่ยว ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังชวนค้นหาความหมายใหม่ของการเดินทางในเส้นทางเมืองรอง 5 ภูมิภาค กับแนวทางส่งเสริมการตลาด “เมนูเปิดประสบการณ์ใหม่…เมืองรองมิรู้ลืม” ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังคงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูงมุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization โดยใช้แพลตฟอร์ม Thailand Tourism Virtual Mart : TTVM  (https://virtualmart.tourismthailand.org) เป็นแพลตฟอร์มหลัก เพื่อเป็นพื้นที่การตลาดออนไลน์ในรูปแบบ B2B สำหรับการพบปะพูดคุยธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย (Seller) และบริษัทนำเที่ยวต่างชาติ (Buyer) 

สำหรับทิศทางการสื่อสารการตลาดในภาพรวม ททท. ยังคงเดินหน้าประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยตลาดในประเทศด้วยแคมเปญ “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” โดยสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วยมุมมองใหม่ เติมความหมายของการเดินทางท่องเที่ยว ชดเชยช่วงเวลาที่พลาดโอกาสได้เดินทางจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตอนนี้จึง “ได้เวลา” ที่จะออกไปท่องเที่ยว สร้างความสุขให้กับตัวเองและคนที่เรารัก ออกไปเที่ยวพร้อมดูแลธรรมชาติ นำไปสู่ช่วงเวลาที่แสนพิเศษ เพราะ “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ” ส่วนตลาดต่างประเทศ ททท. ยังคงตอกย้ำแคมเปญ “Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters” เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แสนพิเศษให้การเดินทางเที่ยวเมืองไทยมีความหมาย (Meaningful Travel) ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการกลับมาพบกันอีกครั้ง (Reunion) รวมทั้งเป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับภาพลักษณ์สู่การเป็น World Class Destination ภายใต้แนวคิดเมนูประสบการณ์ A to Z Amazing Thailand Has it All และ Soft Power of Thailand ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาค้นหาและร่วมออกแบบบทต่อไปของการเดินทางด้วยตัวเองตลอดปี 2566 

ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 2566 ให้กลับมาในอัตราร้อยละ 80 ของปี 2562 บนพื้นฐานของสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างเป็นไปได้ (Base Case Scenario) จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 1.73  ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากต่างประเทศ 970,000 ล้านบาท และรายได้หมุนเวียนจากตลาดคนไทย 760,000 ล้านบาท ขณะที่ภายใต้สถานการณ์ท่องเที่ยวที่เอื้ออำนวยในทุกด้าน (Best Case Scenario) คาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยสัดส่วนของรายได้จากตลาดต่างประเทศ 1.5 ล้านล้านบาท และตลาดในประเทศ 880,000 ล้านบาท  

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. เตรียมจัดงานเฟสติวัลครั้งยิ่งใหญ่ “ใส่ไทย เฟสติวัล” ร่วมผลักดันให้เป็น SOFT POWER ด้านแฟชั่นให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีอีกครั้ง
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
“ใส่ไทย เฟสติวัล” SOFT POWER ด้านแฟชั่นยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี เริ่มขึ้นแล้ว
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม : “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 – 17 พ.ย. 2567
รีบๆเลยก่อนสิทธิ์หมด! ททท. จัดแคมเปญ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง”