วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

พิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories)

      คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประธานพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories)

โดยมี นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. , คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , คุณสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย, คุณสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ , คุณเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน , คุณกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีฯ, คุณปิยะดา ปุณณกิติเกษม โฆษกกระทรวงฯ, คุณสุพจน์ วงศ์จรัสรวี ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ, คุณมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงฯ, คุณจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ร่วมงาน ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สุดาวรรณ ปลื้ม อพท. ยกระดับ 3 แหล่งท่องเที่ยวไทย เป็น “สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก”
(Green Destinations Top 100 Stories 2023) หวังดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขานรับนโยบาย Quality Destination”

สุดาวรรณฯ เดินเครื่องพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืน ชูกลไกมาตรฐานยกระดับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสู่สากล ขับเคลื่อนดึงรายได้จากต่างชาติ กระจายสู่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ      ชุมชนท้องถิ่น

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (รมว.กก.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ในโอกาสเป็นประธานในพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories ) ว่า การบริหารการพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน จนสามารถสร้างและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนนั้น เป็นนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลใน 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นำไปสู่ความอยู่ดีกินดีของประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังมอบให้ อพท. สร้างกลไกในการประสานการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐทั้งจากส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและชุมชน ที่มีบทบาทในการพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยว ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาเดียวกัน  คือ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มีการบริหารจัดการได้ตามมาตรฐานสากล เป็นที่มาของความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว     3 แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทย คือ พื้นที่ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย พื้นที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้รับการยอมรับในระดับสากลในวันนี้

ไม่เพียงเป็นผลสำเร็จจากการปฏิบัติและความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทุกระดับ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาการท่องเที่ยว แต่ยังเป็นต้นแบบในการยกระดับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ให้เห็นถึงความสำเร็จจากผลของความร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรและสามารถนำไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของตัวเองได้ด้วย รวมถึงแสดงให้เห็นกระบวนการในการบูรณาการความร่วมมือของการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างดี ท่าน รมว.กก กล่าวย้ำ

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวเสริมด้านการดำเนินงานว่า อพท. มีแผนงานและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria หรือ GSTC) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษและพื้นที่เตรียมการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ โดยดำเนินการร่วมกับจังหวัด และภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพ ตามนโยบาย Quality Destination ของ รมว.กก. ตอบสนองความต้องการของตลาดคุณภาพสูง รองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้ง     ชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2563 อพท. ได้ผลักดันแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ จนได้รับการจัดลำดับให้เป็น “สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แหล่งของโลก” รางวัล Green Destinations Top 100 Stories มาแล้ว จำนวน   4 แห่ง ได้แก่ ตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย และ ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย และเกาะหมาก จังหวัดตราด ซึ่งดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 ได้เสนอผลงาน Good Practice ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน (Nan Old City) ในประเด็นการจัดการขยะท่องเที่ยวด้วยกระบวนการทางสังคมของเมืองเก่าน่าน พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ในประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีสัตว์รุกรานในเมืองเก่าสุโขทัย และพื้นที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในประเด็นการจัดการป่าต้นน้ำที่ควรได้รับการดูแล รักษาและปลูกป่าทดแทนโดยชุมชนควบคู่กับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อปกป้องรักษาฐานทรัพยากรหลักด้านการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน

จากนี้ อพท. เตรียมขยายผลการดำเนินงานการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท. ไปสู่มาตรฐานระดับสากล ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรการจัดการการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ โดยในปี 2567 อพท. จะดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์ GSTC อีกจำนวน 7 แหล่ง ในจังหวัดตราด ชลบุรี สุโขทัย เลย น่าน สุพรรณบุรี และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อยื่นประกวดรางวัล Green Destinations Top 100 Stories ในปีต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 d7zHSwy.jpeg MB9x2v.jpeg d08ssC8.jpeg DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ MEnXPR.gif

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. เตรียมจัดงานเฟสติวัลครั้งยิ่งใหญ่ “ใส่ไทย เฟสติวัล” ร่วมผลักดันให้เป็น SOFT POWER ด้านแฟชั่นให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีอีกครั้ง
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
“ใส่ไทย เฟสติวัล” SOFT POWER ด้านแฟชั่นยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี เริ่มขึ้นแล้ว
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม : “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 – 17 พ.ย. 2567
รีบๆเลยก่อนสิทธิ์หมด! ททท. จัดแคมเปญ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง”