วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

สาธุชน! หลั่งไหลร่วมพิธีห่มผ้าพระธาตุขามแก่น ประจำฤดูฝน

สาธุชน ชาวจังหวัดขอนแก่นและทั่วสารทิศ ร่วมพิธีห่มผ้าองค์พระธาตุขามแก่นประจำฤดูฝน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง สร้างความเป็นสิริมงคลในวันอาสาสหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา 2565
เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 13 กรกฎาคม 2565ที่วัดเจติยภูมิ หรือวัดพระธาตุขามแก่น ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น พระครูสุตธรรมภาณี,ผศ.ดร.เจ้าอาวาสวัดพระธาตุขามแก่น เป็นองค์ประธานในการเปลี่ยนผ้าห่มองค์พระธาตุขามแก่นประจำฤดูฝน โดยมีนายกรเอก แสงแก้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มขายแล้วปฏิบัติการลูกค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ประธานฝ่ายฆราวาส ตลอดจนนักท่องเที่ยว และชาวขอนแก่นเดินทางมาร่วมทำบุญในวันอาสาพัหบูชาและวันเข้าพรรษา พร้อมเข้าร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์สร้างความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่มีทั้งที่มากันทั้งครอบครัว มาเป็นคู่รักหนุ่มสาว หรือแบบนักท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้สูงอายุ เดินทางมากราบขอพร องค์พระธาตุขามแก่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ขอนแก่น อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาประจำปี 2565


พระครูสุตธรรมภาณี เจ้าอาวาส กล่าวว่า ช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา เป็นวันที่สาธุชน พุทธสาสนิกชน และคนในชุมชนมารวมตัวกันพร้อมใจกันประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าห่มองค์พระธาตุขามแก่นประจำฤดูฝน ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ โดยคณะพระสงฆ์จะนำพุทธสาสนิกชน เดินแห่ผ้าที่ใช้ห่มองค์พระธาตุขามแก่น เดินวนรอบองค์พระธาตุขามแก่น จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้นจะนำผ้าที่แห่ขึ้นมาห่มองค์พระธาตุขามแก่น เพื่อความเป็นสิริมงคลให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนและผู้ที่มาร่วมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา


พระธาตุขามแก่น เดิมเรียกพระธาตุบ้านขาม ไม่มีประวัติหรือจารึกระบุการสร้าง ต่อมาพระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงดำริว่าจังหวัดขอนแก่นควรมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดบ้าง จึงได้สืบเสาะจนพบพระธาตุบ้านขาม ที่บ้านขามธาตุใหญ่ และได้สืบเสาะประวัติความเป็นมาก็ไม่พบ จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าประวัติแล้วเรียบเรียงใหม่ มีหลายสำนวน ตำนานพระธาตุขามแก่นปัจจุบันเป็นสำนวนของนายสมควร พละกล้า เรียบเรียง เพราะคณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ พ.ศ. 2498 – 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ซึ่งจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด

DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. เตรียมจัดงานเฟสติวัลครั้งยิ่งใหญ่ “ใส่ไทย เฟสติวัล” ร่วมผลักดันให้เป็น SOFT POWER ด้านแฟชั่นให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีอีกครั้ง
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
“ใส่ไทย เฟสติวัล” SOFT POWER ด้านแฟชั่นยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี เริ่มขึ้นแล้ว
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม : “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 – 17 พ.ย. 2567
รีบๆเลยก่อนสิทธิ์หมด! ททท. จัดแคมเปญ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง”